ขายบุหรี่ไฟฟ้าราคาถูก.com : Re: Re: น้ำยาเสื่อม ใกล้หมดอายุ หรือว่าเสีย จะสังเกตุได้ยังไงอ่ะ
โดยหลักการทั่วไปนะครับ
ก้อให้สังเกตุว่า มีการแยกตัวของน้ำยามั้ย คือลอยแยกออกจากกันเป็นชั้นๆ เขย่ายังไงก็ไม่เข้ากันอ่ะครับ
แล้วก็สีเปลี่ยนไปจนผิดสังเกตุ
ความใสของน้ำยา กลายเป็นขุ่นๆแทนหรือเปล่า เกิดตะกอนที่ก้นขวดมั้ย
เท่านี้แหละครับ ถ้าใช่ เททิ้งเก็บขวดไว้ดูต่างหน้าเลย
ถูกต้องครับ
ใช้หลักการเดียวกับ ดูว่า ยาน้ำหมดอายุหรือยังครับ
เอามาฝากครับ
http://ict4.moph.go.th/mophaccess/index.php?option=com_content&view=article&id=53&Itemid=70ูอย่างไร จึงรู้ว่า...ยาเสี่อม
1. ยาเม็ดแคปซูล แคปซูลมักจะบวมโป่ง ภายในแคปซูลจะสังเกตเห็นว่าผงยาเปลี่ยนสี อาจมีเชื้อราขึ้นที่เปลือกแคปซูล จับกันเป็นก้อน แถมมีสีที่เปลี่ยนไป ซึ่งต้องระวังให้มากครับ เพราะยาหมดอายุบางอย่างหากกินเข้าไปอาจเป็นอันตรายต่อไต เช่น ยาเตตราซัยคลิน ถ้าผงยาเปลี่ยนจากสีเหลืองเป็นสีน้ำตาล ให้ทิ้งทันที เพราะนั่นหมายถึงมันได้เสื่อมสภาพแล้ว
2. ยาเม็ด เมื่อหมดอายุก็มักมีสีเปลี่ยนไป ซีดจางลง แตกกร่อน เป็นผงง่าย เอามือจับรู้สึกเม็ดยานิ่ม ๆ บีบเบา ๆ ก็แตกแล้ว
3. ยาเม็ดที่เป็นแบบเคลือบน้ำตาล (เช่น วิตามินรวม) เม็ดยามักดูเยิ้มเหนียว มีกลิ่นหืน ๆ บูด ๆ
4. ยาน้ำแขวนตะกอน เช่น ยาคล้ายแป้งน้ำใช้ทาแก้คัน ยาลดกรด ถ้าเสื่อมก็จะตกตะกอน จับกันเป็นก้อน เกาะติดกันแน่น เขย่ายังไงก็ไม่กระจายตัว ทั้ง กลิ่น สี หรือรสก็เปลี่ยนไปจากเดิม แต่ยาแก้อักเสบบางชนิดที่เป็นผงต้องเติมน้ำและเขย่าก่อนกินนั้น หากเติมน้ำเข้าไปในขวดเลยบางครั้งก็เขย่ายากมาก ไม่ยอมละลาย ก่อนเติมน้ำต้องเขย่าขวดให้ผงยากระจาย ไม่เกาะติดก้นขวดก่อนเติมน้ำ และเขย่าอีกครั้ง อย่างนี้ไม่ใช่เสียนะครับ แต่เขย่าผิดวิธี
5. ยาน้ำเชื่อม จะกลายเป็นสีขุ่น ๆ ตกตะกอน เห็นเป็นผง ๆ ไม่ละลาย หรือเห็นเป็นน้ำคนละสีลอยปะปนเป็นเส้น ๆ อยู่ และอาจมีกลิ่นเหม็นเปรี้ยว 6. ยาขี้ผึ้งและครีม ถ้าเสื่อมก็จะพบว่าเนื้อยาแข็ง เนื้อยาแห้งแข็ง หรือสีเปลี่ยนไปจากเดิม
7. ยาหยอดตา หลาย ๆ ท่านอาจไม่ทราบว่ายาหยอดตามีอายุจำกัดนะครับ จึงนำมาหยอดตาทั้ง ๆ ที่เก่าเก็บเป็นปี หรือบางครั้งหลอดเล็ก ๆ ตัวหนังสือเล็ก ๆ วันเดือนปีเลือนหายไป การหยอดใกล้ตาอาจเกิดการปนเปื้อนจากขี้ตา หรือจากมือผู้ใช้ได้ง่าย ทางที่ดีอย่าเก็บนานครับ สัก 1 เดือนในตู้เย็น หากไม่ได้ใช้ก็เคลียร์ทิ้งได้แล้วครับ
8. ยาบางอย่างที่ต้องเก็บในตู้เย็น มียาบางอย่างเท่านั้นที่จำเป็นต้องเก็บไว้ในตู้เย็น เพื่อกันการเสื่อม เช่น ยาพวกวัคซีนที่ใช้ฉีด พบเห็นคลินิกไหน เอาวัคซีนมาจากตู้ยามาฉีดโดยไม่ได้เก็บไว้ในตู้เย็น ก็ต้องทักท้วงและทวงถามกันหน่อยครับ
9. ยาเม็ดมากมายที่ใส่แผง (กระดาษฟรอยด์) ซึ่งกันทั้งความชื้นและกันการเสื่อมสภาพเร็ว จึงควรจะแกะยาต่อเมื่อถึงเวลาต้องกินแล้วเท่านั้น หากแกะออกมารวม ๆ กันในขวดอาจเสื่อม หมดอายุก่อนวันเวลากำหนด
10. ยาที่ได้จากโรงพยาบาลใส่ถุงซิปมาให้ ไม่มีวันหมดอายุ ไม่ใช่ว่าจะใช้ได้ 5 ปีนะครับ แต่วันหมดอายุอยู่ที่กระป๋องยา โรงพยาบาล คลินิกมักจะไม่ได้เขียนไว้ในซองยาให้ ดังนั้น หากเป็นยาเม็ดที่เหลือค้างไว้ที่บ้าน อย่าเก็บไว้เกิน 1 ปีเลยครับ หากเป็นยาน้ำที่ไม่ใช่ยาแก้อักเสบ สัก 3 เดือนก็เคลียร์กันสักครั้งจะดีกว่าครับ