ขายบุหรี่ไฟฟ้าราคาถูก.com : ปอดชื้น!!!??? จริงหรืิอ?
ปอดชื้นหรือปอดอักเสบ ค่ะ เด็กๆ เป็นเพราะว่าปล่อยให้เป็นหวัดเรื้อรังโดยไม่มีการรักษาที่ถูกต้ อง และส่วนใหญ่คุณพ่อคุณแม่ หรือคนเลี้ยง เมื่อเห็นเด็กเล็กๆ มีน้ำมูก หรือไอ คิดว่าไม่ต้องทานยาก้อได้เด๋วก้อหายเอง แต่จากประสบการณ์คนใกล้ตัวและลูกสาว เป็นหนักขึ้นทุกทีไม่เคยหายได้เอง สุดท้ายต้องพึ่งหมอ ซึ่งถึงเวลานั้นลูกก้ออาการหนัก เสมหะลงปอดเสียแล้ว ถ้าปล่อยทิ้งไว้นานจนเกิดการติดเชื้อ จะทำให้อันตรายมากๆ ค่ะ
เป็นข้อมูลหามาจากในเวบค่ะ
ปอดอักเสบ หมายถึง การอักเสบของปอดซึ่งถือเป็นภาวะร้ายแรงชนิดหนึ่ง ภาษาอังกฤษเรียกว่า "นิวโมเนีย" (pneumonia) ชาวบ้านเรียกว่า " ปอดบวม " มักพบในคนที่ไม่แข็งแรง (มีภูมิต้านทานโรคต่ำ) เช่น เด็กคลอดก่อนกำหนด เด็กแฝด เด็กขาดอาหารหรือเด็กที่กินนมข้นกระป๋อง คนชรา คนเมาเหล้า คนที่เป็นโรคทางปอดเรื้อรัง (เช่น หืด หลอดลมอักเสบ ถุงลมพอง) คนที่กินสเตอรอย์เป็นประจำ อาจพบเป็นโรคแทรกซ้อนของไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ ต่อมทอนซิลอักเสบ หัด อีสุกอีใส ไอกรน ฯลฯ ผู้ป่วยที่ฉีดยาด้วยเข็มสกปรก หรือพวกที่ฉีดยาเสพติดด้วยตนเอง ก็มีโอกาสติดเชื้อกลายเป็นโรคปอดบวมชนิดร้ายแรง (จากเชื้อสแตฟฟีโลค็อกคัส) ได้
สาเหตุ
เกิดจากมีเชื้อโรคหรือสารเคมีเข้าไปทำให้มีการอักเสบของปอด ที่สำคัญได้แก่
เชื้อแบคทีเรีย ซึ่งพบเป็นสาเหตุส่วนใหญ่ของโรคนี้ ที่พบบ่อยและรักษาได้ง่ายได้แก่ เชื้อปอดบวม หรือ นิวโมค็อกคัส (Pneumococcus) ที่พบน้อยแต่ร้ายแรง ได้แก่ เชื้อสแตฟฟีโลค็อกคัส (Strephylococcus) สเตรปโตค็อกคัส (Streptococcus) เคล็บซิลลา (Klebsiella)
เชื้อไวรัส เช่น หัด ไข้หวัดใหญ่ อีสุกอีใส ฯลฯ
เชื้อไมโคพลาสมา (Mycoplasma pneumoniae) ซึ่งทำให้ปอดอักเสบชนิดที่เรียกว่า Atypical pneumonia เพราะมักจะไม่มีอาการหอบอย่างชัดเจน
เชื้อรา พบได้ค่อนข้างน้อย แต่รุนแรง
สารเคมี ที่พบบ่อยได้แก่ น้ำมันก๊าด ซึ่งผู้ป่วยสำลักเข้าไปในปอด มักจะเป็นที่ปอดข้างขวามากกว่าข้างซ้าย
การติดต่อ อาจติดต่อได้ทางหนึ่งทางใดดังนี้
ก. ทางเดินหายใจ โดยการไอ จาม หรือหายใจรดกัน
ข. โดยการสำลักเอาสารเคมีหรือเศษอาหารเข้าไป ในปอด
ค. แพร่กระจายไปตามกระแสเลือด เช่น การฉีดยา ให้น้ำเกลือ การอักเสบในอวัยวะส่วนอื่น เป็นต้น
อาการ
มักเกิดขึ้นทันทีทันใดด้วยอาการไข้สูง (อาจจับไข้ตลอดเวลา)หนาวสั่น (โดยเฉพาะในระยะที่เริ่มเป็น) และหายใจหอบ ในระยะแรกอาจมีอาการไอแห้งๆ ไม่มีเสมหะ ต่อมาเสลดขุ่นข้นออกเป็นสีเหลืองสีเขียว สีสนิมเหล็กหรือมีเลือดปน ในเด็กโตและผู้ใหญ่ อาจมีอาการเจ็บแปล๊บในหน้าอกเวลาหายใจเข้าหรือเวลาไอแรงๆ บางครั้งอาจปวดร้าวไปที่หัวไหล่ สีข้างหรือท้อง ในเด็กเล็กอาจมีอาการปวดท้อง ท้องอืด ท้องเดิน อาเจียน กระสับกระส่ายหรือชัก
สิ่งตรวจพบ
ไข้สูง 39 - 40 องศาเซลเซียส หน้าแดง ริมฝีปากแดง ลิ้นเป็นฝ้าหายใจตื้นแต่ถี่ๆ อาจมากกว่านาทีละ 40 ครั้ง ซี่โครงบุ๋ม รูจมูกบาน ถ้าเป็นมากๆ อาจมีอาการตัวเขียว(ริมฝึปากเขียว ลิ้นเขียว เล็บเขียว) หรือภาวะขาดน้ำ บางรายอาจมีเริมขึ้นที่ริมฝีปาก ปอดอาจเคาะทึบ (dullness) ใช้เครื่องฟังตรวจปอดอาจมีเสียงหายใจค่อย (diminished breath sound) หรือมีเสียงกรอบแกรบ (crepitation) ซึ่งมักจะได้ยินตรงใต้สะบักทั้ง 2 ข้าง
อาการแทรกซ้อน
อาจทำให้เป็นฝีในปอด (lung abscess) มีหนองในช่องหุ้มปอด , ปอดแฟบ (atelectasis) หลอดลมพอง, เยื้อหุ้มสมองอักเสบ , เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ (pericarditis) เยื่อบุช่องท้องอักเสบ , ข้ออักเสบเฉียบพลัน , โลหิตเป็นพิษ ที่สำคัญคือภาวะขาดออกซิเจน และภาวะขาดน้ำซึ่งถ้าพบในเด็กเล็กและคนแก่ อาจทำให้ตายได้รวดเร็ว
การรักษา
ในรายที่เริ่มเป็น ยังไมีมีอาการหอบ ให้ดื่มน้ำมากๆ ใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดตัวเวลามีไข้สูง ให้ยาลดไข้และให้ยาปฏิชีวนะ เช่น เพนนิซิลลิน , แอมพิซิลลิน , อีริโทรมัยซิน , เตตราซัยคลีน หรือ โคไตรม็อกซาโซล ถ้าไอมีเสลด ให้ยาขับเสมหะ เช่น มิสต์แอมมอนคาร์บ ถ้าอาการดีขี้นใน 3 วัน ควรให้ยาปฏิชีวนะต่อไปอีก 1 สัปดาห์ ถ้าไม่ดีขึ้นหรือกลับมีอาการหอบควรแนะนำไปโรงพยาบาล
ถ้ามีอาการหอบ หรือสงสัยมีอาการแทรกซ้อนอื่นๆ รีบให้ยาปฏิชีวนะ แล้วส่งโรงพยาบาลด่วนหากรักษาไม่ทัน อาจตายได้ ถ้ามีภาวะขาดน้ำควรให้น้ำเกลือ ผู้ใหญ่ให้ 5% D/NSS เด็กให้ 5% D/1/2 NSS ระหว่างเดินทางไปด้วย มักจะต้องทำการตรวจโดยเอกซเรย์ปอด ตรวจเสมหะหาเชื้อที่เป็นสาเหตุ หรือเจาะเลือดไปเพาะเชื้อ และให้การรักษาโดยให้ออกซิเจน น้ำเกลือ และยาปฏิชีวนะ ซึ่งอาจให้เพนิซิลลินฉีดเข้ากล้ามเนื้อหรือเส้นเลือดในขนาดสูงๆ หรือยาปฏิชีวนะตัวอื่นๆ ตามแต่ชนิดของเชื้อที่พบ เช่น เชื้อนิวโมค็อกคัส มักให้เพนิซิลลิน ,เชื้อสแตฟฟีโลค็อกคัสให้คล็อกซาซิลลิน , เชื้อไมโครพลาสมาให้ อีริโทรมัยซิน หรือเตตราซัยคลีน เป็นต้น
ข้อแนะนำ
คนที่มีอาการไข้สูงและหอบ มักมีสาเหตุจากปอดอักเสบ แต่ก็อาจมีสาเหตุจากโรคอื่นๆได้
โรคนี้ แม้ว่าจะมีอันตรายร้ายแรง แต่ถ้าได้รับการรักษาที่ถูกต้องก็มักจะหายขาดได้ ดังนั้นหากสงสัยผู้ป่วยโรคนี้ ควรรีบให้ยาปฏิชีวนะ แล้วส่งโรงพยาบาลทันที
การป้องกัน
ปฏิบัติเช่นเดียวกับการป้องกันไขัหวัด
อย่าฉีดยาด้วยเข็มและกระบอกฉีดยาที่ไม่ได้ผ่านกรรมวิธีฆ่าเชื้อ
อย่าอมน้ำมันก๊าดเล่น ควรเก็บน้ำมันก็าดให้ห่างมือเด็ก
เมื่อเป็นไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ หัด อีสุกอีใส ฯลฯ ควรดูแลรักษาเสียแต่เนิ่นๆ
ป้องกันมิให้เป็นโรคทางปอดเรื้อรัง (หลอดลมอักเสบ ถุงลมพอง) ด้วยการไม่สูบบุหรี่
Edited by bangbang - 10 ก.ย. 2008 at 17:34