ขายบุหรี่ไฟฟ้าราคาถูก.com : สูบบุหรี่ 400 มวน ในปอดจะมี Tar และน้ำมันดินเท่าใหร่น๋อออ
การสูบบุหรี่เพิ่มโอกาสเสี่ยงป่วยโรคต่างๆ อาทิ มะเร็ง หัวใจ ถุงลมปอดโป่งพอง อัมพฤกษ์ อัมพาต เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ แม้จะมีผลเสียต่อสุขภาพมากมาย แต่ก็มีคนจำนวนไม่น้อยที่ยังคงสูบบุหรี่อยู่ ทาง ศ.นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ เลขาธิการมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ และผู้ทรงคุณวุฒิคณะกรรมการควบคุมการบริโภคยาสูบแห่งชาติ เผยผลสำรวจ พบว่า ทั่วโลกมีผู้สูบบุหรี่ ราว 1,200-1,300 ล้านคน
พบ 12 ล้านคนไทยสูบบุหรี่ ตายเฉลี่ยปีละ 4.8 หมื่นราย
หากนำจำนวนดังกล่าวมาแบ่งเป็นเปอร์เซ็นต์ ที่แปซิฟิกตะวันตกมีคนสูบบุหรี่มากที่สุดในโลก คิดเป็นร้อยละ 48 ตามด้วยยุโรป ร้อยละ 24 อเมริกา ร้อยละ 11 เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ร้อยละ 8 ตะวันออกกลาง ร้อยละ 6 และแอฟริกา ร้อยละ 3 ตามลำดับ
ขณะที่ในประเทศไทย ศ.นพ.ประกิต ระบุว่า มีผู้สูบบุหรี่ราว 12.5 ล้านคน อยู่ในภาคอีสานมากที่สุด ร้อยละ 33.6 หรือ 4.2 ล้านคน รองลงมาเป็นภาคกลาง ร้อยละ 23.2 หรือราว 2.9 ล้านคน ตามด้วยภาคเหนือ ร้อยละ 17.6 ล้านคน หรือ 2.2 ล้านคน ภาคใต้ ร้อยละ 16 หรือ 2 ล้านคน และในกทม. พบร้อยละ 8 หรือเท่ากับ 1 ล้านคน
ผลจากการสูบบุหรี่ทำให้คนทั่วโลกเสียชีวิตเพราะบุหรี่ เฉลี่ยปีละ 6 ล้านคน ในจำนวนนี้ ตายจากโรคมะเร็ง ร้อยละ 33 หรือราว 2.2 ล้านคน ตายเพราะป่วยโรคทางเดินหายใจ โรคหัวใจและหลอดเลือด ร้อยละ 29 หรือประมาณ 1.87 ล้านคน และจากโรคอื่นๆ ร้อยละ 7 หรือราว 4.8 แสนคน
สำหรับยอดผู้เสียชีวิตจากการสูบบุหรี่ในไทย คิดเป็น 48,244 คนต่อปี ซึ่งบุหรี่ทำให้คนไทยในจำนวนนี้ป่วยและตายด้วยโรคมะเร็งมากที่สุด ร้อยละ 37.4 ตามด้วยโรคทางเดินหาย ร้อยละ 29.9 โรคหัวใจและหลอดเลือด ร้อยละ 22.6 และโรคอื่นๆ ร้อยละ 9.9
นอกจากนี้ ยังพบว่ามีคนไทย 14,204 คน จากจำนวนผู้เสียชีวิต 48,244 คนต่อปีนั้น เสียชีวิตก่อนวัย 60 ปี แสดงให้เห็นว่า การสูบบุหรี่ทำให้คนไทยที่สูบอายุสั้นลงเฉลี่ย 12.1 ปี
อย่างไรก็ตาม ผู้ที่ไม่ได้สูบบุหรี่ แต่รับควันบุหรี่มือสอง ก็มีความเสี่ยงป่วยด้วยโรคหัวใจ ร้อยละ 25-30 และเสี่ยงเป็นมะเร็งปอด ร้อยละ 20-30 ที่สำคัญ มีผลวิจัยทางวิทยาศาสตร์ ระบุว่า ไม่มีระดับที่ปลอดภัยในการได้รับควันบุหรี่มือสอง แถมการสูดควันบุหรี่มือสองแม้ในระยะเวลาสั้นๆ ส่งผลให้เกล็ดเลือดเกาะตัวกันง่ายขึ้น ทำให้เลือดข้นขึ้น ทำลายผนังบุหลอดเลือด หัวใจเต้นแรงขึ้น เพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะหัวใจวาย ก่อความระคายเคืองและทำลายเยื่อบุผนังทางเดินหายใจ ระบบทางเดินหายใจของคนสุขภาพดีเกิดปฏิกิริยาอักเสบ และทำให้คนเป็นโรคหอบหืดจับหืดบ่อยและรุนแรงยิ่งขึ้น
ทีมเดลินิวส์ออนไลน์
[email protected]ที่มาข้อมูล : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์