หัวข้อ: บุหรี่ไฟฟ้าอันตรายน้อยกว่าบุหรี่ธรรมดาจริงหรือ เริ่มหัวข้อโดย: Ronin ที่ สิงหาคม 25, 2023, 01:07:08 AM บุหรี่ไฟฟ้าใช้หลักการระเหยของสารนิโคตินเหลวด้วยความร้อนจากไฟฟ้า ไม่ใช่การเผาไหม้เหมือนกับบุหรี่แบบทั่วไป ซึ่งจะทำให้ผู้สูบลดความเสี่ยงที่จะได้รับสารที่เป็นอันตรายจากการเผาไหม้บางตัว เช่น น้ำมันดินหรือทาร์ คาร์บอนมอนอกไซด์ อย่างไรก็ตาม ล่าสุด (กันยายน 2562) ศูนย์ควบคุมโรค สหรัฐอเมริกา (CDC) ได้ดำเนินการตรวจสอบผู้ป่วยโรคปอดจำนวนหลายร้อยคน เพื่อหาความสัมพันธ์ของอาการป่วยกับการสูบบุหรี่ไฟฟ้า หลังจากที่มีผู้มีอาการไอ เหนื่อย แน่นหน้าอกจนต้องเข้าพักรักษาตัวในโรงพยาบาล รวมถึงมีผู้เป็นปอดอักเสบเฉียบพลันจนเสียชีวิต โดยคนเหล่านี้ต่างเคยสูบบุหรี่ไฟฟ้าทั้งสิ้น
แม้จะยังไม่สามารถสรุปผลที่แน่ชัดได้ แต่ที่แน่ๆ คือบุหรี่ไฟฟ้ามีส่วนผสมของนิโคติน ซึ่งเป็นสารที่ก่ออันตรายต่ออวัยวะต่างๆ หลายระบบ เช่น ระบบหลอดเลือดและหัวใจ และระบบทางเดินหายใจ ปกติแล้วแพทย์ผู้เชี่ยวชาญมองว่า นิโคตินเหลวที่บรรจุอยู่ภายในบุหรี่ไฟฟ้านั้นมีผลกระทบต่อระบบหลอดเลือดและหัวใจ เนื่องจากทำให้หลอดเลือดในร่างกายหดตัว ส่งผลให้เลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายไม่เพียงพอ ทำให้อวัยวะขาดออกซิเจน ไม่เพียงเท่านั้นนิโคตินยังกระตุ้นให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มขึ้นอันเป็นสาเหตุของการเป็นโรคเบาหวานและส่งผลต่อพัฒนาการของสมองของทารกในครรภ์ อีกทั้งการได้รับนิโคตินในระดับสูงมีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้อีกด้วย (60 มิลลิกรัม ในผู้ใหญ่ และ 6 มิลลิกรัม ในเด็กเล็ก) บางงานวิจัยระบุว่า ไอระเหยของบุหรี่ไฟฟ้ามีขนาดอนุภาคที่เล็กกว่าบุหรี่ธรรมดาทำให้สามารถถูกสูดเข้าไปในปอดได้ลึกมากกว่า อนุภาพที่เล็กนี้จะจับเข้ากับเนื้อเยื่อปอดและดูดซึมเข้ากระแสเลือดได้อย่างรวดเร็วและยากที่กลไกธรรมชาติของร่างกายจะขับออกมาได้ บุหรี่ไฟฟ้าผิดกฎหมายหรือไม่ บุหรี่ไฟฟ้าถือเป็นสินค้าที่ไม่เสียภาษีของประเทศไทย แต่เป็นสินค้าต้องห้ามในการนำเข้าสู่ราชอาณาจักรกล่าวคือ ห้ามนำเข้า ห้ามขาย บุหรี่ไฟฟ้า (https://vapeclubthailand.net/) ห้ามให้บริการ ซึ่งไม่มีกฎหมายห้ามครอบครองบุหรี่ไฟฟ้า สาเหตุที่ห้ามครอบครองนั้นเป็นเพราะว่าบุหรี่ไฟฟ้าเป็นสินค้าไม่เสียภาษี ฉะนั้นการครอบครองสินค้าที่ไม่เสียภาษี มีความผิดตาม พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2469 หากฝ่าฝืน จำคุก 5 ปี ปรับไม่เกิน 5 แสนบาท อ้างอิงจริงพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 และประกาศกระทรวงพาณิชย์ พ.ศ. 2559 ตามลำดับ • มาตรา 27 ทวิ ผู้ใดช่วยซ่อนเร้น ช่วยจําหน่าย ช่วยพาเอาไปเสีย ซื้อ รับจํานํา หรือรับไว้โดยประการใดอันตนรู้ว่าเป็นของที่ยังมิได้เสียค่าภาษีหรือของต้องจํากัด หรือของต้องห้าม หรือที่เข้ามาในราชอาณาจักรโดยยังมิได้ผ่านศุลกากรโดยถูกต้องก็ดี หรือเป็นของที่นําเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงอากร ข้อจํากัด หรือข้อห้ามอันเกี่ยวแก่ของนั้นก็ดี มีความผิดต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับเป็นเงินสี่เท่าราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้ว หรือทั้งจําทั้งปรับ • ประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง สินค้าต้องห้ามนำผ่านราชอาณาจักร พ.ศ. 2559 ข้อ 3 ให้สินค้าตามบัญชีท้ายประกาศนี้เป็นสินค้าต้องห้ามนำผ่านราชอาณาจักร พ.ศ. 2559 บารากู่และบารากู่ไฟฟ้าหรือบุหรี่ไฟฟ้า ตามข้อกฎหมายแล้ว การมีบุหรี่ไฟฟ้าไว้ในครอบครอง ถือว่าผิดกฎหมายเช่นเดียวกับการขับรถผ่าไฟแดง ขี่จักรยานยนต์ไม่สวมหมวกกันน็อค จอดรถในที่ห้ามจอด และอื่นๆ แต่เจ้าหน้าที่ตำรวจไม่สามารถจับกุมได้ในทุกกรณีด้วยปัจจัยและเงื่อนไขต่างๆ ดังนั้นถ้าหากไม่เคยสูบบุหรี่ไฟฟ้ามาก่อนก็ไม่แนะนำให้ลองเพราะทั้งผิดกฎหมายและไม่สามารถตอบได้ด้วยว่า ทำให้เลิกบุหรี่จริงได้จริงหรือ รวมทั้งบุหรี่ไฟฟ้าปลอดภัยต่อร่างกายจริงหรือไม่ ทว่าในปัจจุบัน ยังมีวัยรุ่นส่วนมากขายบุหรี่ไฟฟ้า และบุหรี่ไฟฟ้าก็ยังเป็นที่นิยมในหมู่วัยรุ่นในกรุงเทพอีกด้วย |