ขายบุหรี่ไฟฟ้าราคาถูก

Trade-in ขายบุหรี่ไฟฟ้าราคาถูก.com => ซื้อขาย - แลกเปลี่ยน สินค้าทั่วไป และประชาสัมพันธ์งานต่างๆ => ข้อความที่เริ่มโดย: jbtsaccount ที่ สิงหาคม 17, 2021, 07:04:30 PM



หัวข้อ: 5 ธุรกิจใด? ที่ต้องเร่งรับมือกับ pdpa พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
เริ่มหัวข้อโดย: jbtsaccount ที่ สิงหาคม 17, 2021, 07:04:30 PM
               พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือที่เราคุ้นเคยกันดีในชื่อ pdpa ถูกเลื่อนบังคับใช้ออกไปอีก 1 ปี คือ วันที่ 27 พ.ค. 2564 เท่ากับว่าธุรกิจต่าง ๆ เหลือเวลาที่จะเตรียมการรับมือกับกฎหมาย pdpa ฉบับนี้อีกไม่นาน และหากธุรกิจของท่านจัดอยู่ใน 5 หมวดหมู่ดังต่อไปนี้ ยิ่งต้องเร่งเตรียมการรับมือให้ทัน ด้วยสาเหตุอะไรบ้างนั้น เราตามไปดูพร้อม ๆ กัน

1. ธุรกิจธนาคาร
               ธนาคาร คือสถาบันทางการเงินขนาดใหญ่ ภายในองค์กรบรรจุข้อมูลส่วนบุคคลของทั้งพนักงานและลูกค้า รวมกันแล้วอาจมากถึงหลักแสนหลักล้านข้อมูล ดังนั้นธุรกิจธนาคารจึงกลายเป็นธุรกิจลำดับแรก ๆ ที่ต้องเตรียมรับมือให้พร้อมก่อนที่ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลจะเริ่มประกาศใช้ หากธนาคารเตรียมตัวไม่พร้อมและวางระบบได้ไม่รอบคอบมากพอ กฎหมาย pdpa คือ (https://www.marketingoops.com/news/biz-news/pdpa-columbus-agency/) ความเสี่ยงระดับสูงที่ธุรกิจธนาคารอาจต้องเจอ หลังจาก 27 พ.ค. 2564 นี้เป็นต้นไป

2. ธุรกิจประกันภัย
               pdpa คือ กฎหมายที่ว่าด้วยเรื่องของการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลก็จริง แต่ “ข้อมูลส่วนบุคคล” ในตัวกฎหมาย ถูกแยกย่อยออกเป็นข้อมูลส่วนบุคคลปกติทั่วไป กับข้อมูลส่วนบุคคลซึ่งเป็น sensitive data ว่ากันว่าหากเจ้า sensitive data หลุดรั่วออกไปแล้วเกิดความเสียหายขึ้นต่อเจ้าของข้อมูล จะสามารถเรียกร้องค่าสินไหมเพิ่มมากขึ้นได้ ซึ่งหนึ่งใน sensitive data ก็คือ ข้อมูลด้านสุขภาพ ที่บริษัทประกันภัยต่าง ๆ เก็บ ใช้ ครอบครองไว้นั่นเอง ดังนั้น หากธุรกิจประกันภัยไม่เร่งรับมือกับกฎหมายฉบับนี้ อนาคตก็จะมีความเสี่ยงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

3. ธุรกิจเกี่ยวกับด้านอสังหาริมทรัพย์
               การทำเอกสารสัญญาคือหนึ่งในหัวใจสำคัญของการดำเนินธุรกิจด้านอสังหาริมทรัพย์ ยิ่งมีเอกสารมาก ก็ยิ่งต้องเก็บ ใช้ ครอบครอง ข้อมูลส่วนบุคคลจำนวนมาก จำเป็นต้องเตรียมรับมือกับ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ไม่น้อยไปกว่าสองธุรกิจแรกเลย

4. ธุรกิจด้านการท่องเที่ยว
               น่าจะเป็นธุรกิจที่ต้องใส่ใจรายละเอียดมากที่สุดอีกธุรกิจหนึ่ง เพราะข้อมูลส่วนบุคคล เช่น ชื่อ-นามสกุล เลขบัตรประชาชน เลขที่พาสปอร์ต จะต้องถูกต้องตรงกัน บางกรณีลูกค้าจำเป็นต้องกรอกที่อยู่ปัจจุบัน ข้อมูลสุขภาพ ในกรณีที่มีโรคประจำตัว หรือมีอาการแพ้อาหารชนิดใดชนิดหนึ่งด้วยแล้ว ธุรกิจด้านการท่องเที่ยว ถือเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่ต้องเตรียมพร้อมรับมือกับกฎหมายใหม่ฉบับนี้เช่นกัน

5. ธุรกิจด้าน E-commerce
               เฟื่องฟูสุด ๆ ในยุคนี้ เพราะธุรกิจด้าน E-commerce ในปัจจุบัน ไม่ได้เพียงแค่การขายสินค้า แต่ยังมีบริการอื่น ๆ เพิ่มเติมจากเดิมมากมาย เช่น application บนสมาร์ทโฟน ที่สามารถใช้สั่งอาหารได้ ใช้เรียกรถโดยสารได้ ใช้เรียกแมสเซนเจอร์ได้ ซึ่งธุรกิจด้าน E-commerce จำเป็นต้องใช้ข้อมูลส่วนบุคคลจำนวนหนึ่งเลยทีเดียว นอกจากชื่อ-นามสกุล เบอร์โทร ที่อยู่ บางธุรกิจยังเก็บ ใช้ ข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้า เพื่อเชื่อมต่อธุรกรรมทางการเงินอีกด้วย เท่ากับอยู่ภายใต้กฎหมาย pdpa อย่างชัดเจน

ขอปิดท้ายด้วย บทลงโทษของ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่ทุกธุรกิจควรรู้
1. โทษทางอาญา จำคุกไม่เกิน 1 ปี และ/หรือ ปรับสูงสุดเป็นเงิน 1 ล้านบาท
2. โทษทางแพ่ง จ่ายสินไหมไม่เกิน 2 เท่าของสินไหมที่แท้จริง
3. โทษทางปกครองปรับเป็นเงินจำนวนไม่เกิน 5 ล้านบาท
               รู้อย่างนี้แล้ว ทุกธุรกิจที่เก็บ ใช้ ครอบครอง ข้อมูลส่วนบุคคล จึงควรปรับตัวเพื่อให้สอดคล้องกับ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของไทยฉบับนี้ โดยเฉพาะ 5 ธุรกิจข้างต้น ซึ่งถือเป็น 5 ธุรกิจแรกที่ต้องรับมือกับกฎหมายนี้ให้ทันเวลา ไม่เช่นนั้นอาจก่อให้เกิดความเสียหายอย่างหนักต่อธุรกิจในอนาคตก็เป็นได้

ที่มาข้อมูล
-   https://www.marketingoops.com/news/biz-news/postpone-pdpa-for-1-year/
-   https://www.fusionsol.com/blog/pdpa-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD/