ขายบุหรี่ไฟฟ้าราคาถูก

E-Cigarette E-Liquid Experience ขายบุหรี่ไฟฟ้าราคาถูก.com => พูดคุยเรื่องบุหรี่ไฟฟ้าและน้ำยาบุหรี่ไฟฟ้า => ข้อความที่เริ่มโดย: Cloudian Shop ที่ เมษายน 30, 2014, 05:10:24 PM



หัวข้อ: บุหรี่ไฟฟ้าอันตราย? แล้วบุหรี่จิงไม่อันตรายกว่า?
เริ่มหัวข้อโดย: Cloudian Shop ที่ เมษายน 30, 2014, 05:10:24 PM
เตือนภัย บุหรี่ไฟฟ้า ตัวการทำร้ายหัวใจ ความดัน ก่อมะเร็ง ชี้ โฆษณาชวนเชิญทำวัยรุ่นเชื่อผิดๆ ว่าไม่อันตราย แถมขายเกลื่อนโซเชี่ยล จี้ควบคุม เอาผิดนำเข้าผิดกฎหมาย
(http://www.thaihealth.or.th/data/content/24014/cms/e_aberwx123469.jpg)
เมื่อวันที่ 28 เม.ย. ที่แพทยสมาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ในการแถลงข่าวเรื่อง “เตือนภัยบุหรี่อิเล็กโทรนิกส์ เสี่ยงมะเร็ง” จัดโดย ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ  (ศจย.) มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ เครือข่ายวิชาชีพสุขภาพเพื่อสังคมไทยปลอดบุหรี่ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

          โดย ผศ.ดร.ศรีรัช ลอยสมุทร คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต เปิดเผย สถานการณ์บริโภคยาสูบไฟฟ้าในกลุ่มเยาวชนอายุ 13-18 ปี ว่า ปัจจุบันยาสูบไฟฟ้ามี 3 ประเภท คือ บุหรี่ไฟฟ้า บารากุไฟฟ้า และซิการ์ไฟฟ้า โดยผู้บริโภคสามารถเข้าถึงได้ง่ายมาก เพราะมีช่องทางการจำหน่ายที่แพร่หลายทั้งในห้างสรรพสินค้า การจำหน่ายผ่านอินเตอร์เน็ต โดยเฉพาะ social network ที่วัยรุ่นนิยม เช่น เฟซบุ็ค ไลน์ อินสตาแกรม ซึ่งเฉพาะโปรแกรมสนทนา ไลน์ มีผู้ขายกว่า 1,300 ไอดี และยังมีการโฆษณาชวนเชื่อจำนวนมากผ่านช่องทางเหล่านี้โดยทำเป็นคลิปวีดีโอ ที่ทำให้เกิดความเข้าใจผิดว่าไม่ใช่สินค้าอันตรายด้วย จากการศึกษาสถานการณ์ทางการตลาดของผลิตภัณฑ์ยาสูบ “แปลงร่าง” จากกลุ่มตัวอย่างอายุ 13-18 ปี 2,426 ราย  พบว่า  เยาวชน 78% รู้จักบารากุไฟฟ้าเป็นอย่างดี  44% สูบบารากุไฟฟ้า  และ 12%  สูบบุหรี่ไฟฟ้า  ขณะเดียวกัน 42% ก็สูบบุหรี่ธรรมดาด้วย  โดย 32% รู้จักบารากุไฟฟ้าจาก social network  67% ซื้อบารากุไฟฟ้าด้วยตัวเอง  และ18% ซื้อจากช่องทาง social network  เหตุผลของนักสูบเยาวชนส่วนใหญ่ 83% มาจากความเชื่อผิดๆ และรูปลักษณ์ผลิตภัณฑ์ที่หลอกลวง คือ เห็นว่าเป็นสิ่งน่าสนใจแปลกใหม่ เชื่อว่าสูบง่ายกว่าบุหรี่ ปลอดภัย ลองได้ไม่เสพติด

          ภก.คฑา บัณฑิตานุกูล เครือข่ายเภสัชอาสาพาเลิกบุหรี่ กล่าวว่า ปัจจุบันถือว่าน่าเป็นห่วงอย่างมาก เพราะมีการเผยแพร่ข้อมูลว่าบุหรี่ไฟฟ้าปลอดภัยมากกว่าบุหรี่ทั่วไป โดยยกตัวอย่างว่า บุหรี่ปกติมีสารพิษกว่า 6,000 ชนิด แต่บุหรี่ไฟฟ้ามีแค่นิโคติน แต่การศึกษาพบว่า ในบุหรี่ไฟฟ้า จะมีปริมาณนิโคตินที่เข้มข้นสูงกว่าใบยาสูบทั่วไป และไม่สามารถควบคุมปริมาณนิโคตินได้ ซึ่งอันตรายคือ นิโคตินจะทำให้อัตราการเต้นหัวใจสูง และอาจส่งผลต่อความดันโลหิต และเมื่อมีการเผาไหม้ สารโพรไพลีน ไกลคอล (propylene glycol) ที่ใช้ในบุหรี่ไฟฟ้า จะเกิดสารตกค้างที่อาจก่อให้เกิดมะเร็งได้ และจากงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ยังพบว่า บุหรี่ไฟฟ้าช่วยเลิกบุหรี่ได้ต่ำและงานวิจัยไม่ชัดเจน เพราะกลุ่มตัวอย่างน้อยเกินไป อีกทั้งยังพบว่า แม้จะหยุดสูบบุหรี่ธรรมดาได้ แต่ผู้สูบกลับต้องการบุหรี่ไฟฟ้าในปริมาณที่เพิ่มขึ้น หมายถึงทำให้ติดบุหรี่ไฟฟ้าแทน

          ผศ.นพ.สุทัศน์  รุ่งเรืองหิรัญญา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ กล่าวว่า งานวิจัยต่างๆ ชี้ให้เห็นชัดว่าบุหรี่ไฟฟ้าไม่ปลอดภัยต่อสุขภาพเช่นเดียวกับบุหรี่ธรรมดา ซึ่งพบสารก่อมะเร็งหลายๆ ชนิด เช่น ไดเอธิลีนไกลคอล ตะกั่ว แมงกานีส สังกะสี ปรอท สารหนู แคดเมียม ในปริมาณที่สามารถส่งผลเสียต่อร่างกายได้หากใช้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งงานวิจัยในประเทศสหรัฐอเมริกา ยังชี้ชัดว่า บุหรี่ไฟฟ้า ทำให้ลดสมรรถภาพปอดและการหายใจได้เหมือนบุหรี่ทั่วไป และทำให้เซลล์ของมนุษย์เกิดการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมและกลายเป็นเซลล์มะเร็งได้ แม้ได้สัมผัสควันบุหรี่ไฟฟ้าเพียงแค่ 5 นาทีเท่านั้น นอกจากนี้ ควันของบุหรี่ไฟฟ้ายังสามารถเกาะที่พื้นผิววัสดุต่างๆ รวมทั้งผิวหนังของมนุษย์ แล้วเกิดปฏิกิริยาต่อเนื่องกับสารพิษหรือมลพิษชนิดอื่นๆ ในอากาศจนเกิดเป็นสารก่อมะเร็งได้ในที่สุด หมายถึงบุหรี่ไฟฟ้าไม่ได้ปลอดภัยแต่งานวิจัยยังไม่มาก
(http://www.thaihealth.or.th/data/content/24014/cms/e_adhmrsz14789.jpg)
 คุณเศรณีย์ จุฬาเสรีกุล กลุ่มพัฒนาภารกิจกฎหมาย สำนักควบคุมการบริโภคยาสูบ กล่าวว่า การขายบุหรี่ไฟฟ้าในประเทศไทยเข้าข่ายเป็นความผิดตามกฎหมายหลายฉบับ กรมควบคุมโรค จึงได้ประสานความร่วมมือกับ กรมศุลกากร สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค กรมสรรพสามิต สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อควบคุมกระบวนการนำเข้ามาในราชอาณาจักร และการแพร่หลายของบุหรี่ไฟฟ้าทางอ้อม คือ 1.ฐานนำหรือพาของที่ยังมิได้เสียค่าภาษี หรือของต้องจำกัด หรือของต้องห้าม หรือที่ยังมิได้ผ่านศุลกากรโดยถูกต้อง เข้ามาในราชอาณาจักร  ตามพระราชบัญญัติศุลกากร  พ.ศ. 2469 มาตรา 27  2. ฐานช่วยซ่อนเร้น จําหน่าย พาเอาไปเสีย ซื้อ รับจํานํา หรือรับไวโดยประการใด ซึ่งรู้ว่าเป็นของที่ยังมิได้เสียค่าภาษี หรือของต้องจํากัด หรือของต้องห้าม หรือที่เข้ามาในราชอาณาจักร โดยยังมิได้ผ่านศุลกากร หรือโดยหลีกเลี่ยงอากร ตามพ.ร.บ.ศุลกากร  พ.ศ. 2469  มาตรา 27 ทวิ  3. ฐานประกอบธุรกิจตลาดแบบตรง โดยไม่ได้จดทะเบียน การประกอบธุรกิจ ตามพระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ.2545  มาตรา 27 กรณีที่เป็นการจำหน่ายทางเว็บไซต์  และ  4) ฐานขายสินค้าที่ควบคุมฉลากโดยไม่มีฉลาก หรือมีฉลากแต่ฉลากไม่ถูกต้อง ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 มาตรา  30 , 31 แต่ทั้งนี้ กรมควบคุมโรค และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กำลังหาทางออกร่วมกันในการแก้ไขกฎหมาย ให้ครอบคลุมบุหรี่ไฟฟ้าในทุกมิติต่อไป

           รศ.ดร.นิทัศน์ ศิริโชติรัตน์ คณะสาธารณสุข มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า บุหรี่ไฟฟ้าบางชนิดที่ผลิตหรือจำหน่าย โดยมีลักษณะรูปร่างเลียนแบบบุหรี่ ยังถือเป็นการกระทำความผิด  ตามพ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2535 มาตรา 10 คือ ห้ามมิให้ผู้ใดผลิต นำเข้าเพื่อขาย หรือเพื่อจ่ายแจก เป็นการทั่วไป หรือโฆษณาสินค้าอื่นใดที่มีรูปลักษณะทำให้เข้าใจได้ว่า เป็นสิ่งเลียนแบบผลิตภัณฑ์ยาสูบ ประเภทบุหรี่ซิกาแรต หรือบุหรี่ซิการ์  หากฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท

ที่มา : http://www.thaihealth.or.th (http://www.thaihealth.or.th/Content/24014-%E0%B8%9A%E0%B8%B8%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B9%84%E0%B8%9F%E0%B8%9F%E0%B9%89%E0%B8%B2%20%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%A1%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B9%87%E0%B8%87.html)


หัวข้อ: Re: บุหรี่ไฟฟ้าอันตราย? แล้วบุหรี่จิงไม่อันตรายกว่า?
เริ่มหัวข้อโดย: Cloudian Shop ที่ เมษายน 30, 2014, 05:12:08 PM
ท่อนนี้มันแปลกๆนะครับ
"ภก.คฑา บัณฑิตานุกูล เครือข่ายเภสัชอาสาพาเลิกบุหรี่ กล่าวว่า ปัจจุบันถือว่าน่าเป็นห่วงอย่างมาก เพราะมีการเผยแพร่ข้อมูลว่าบุหรี่ไฟฟ้าปลอดภัยมากกว่าบุหรี่ทั่วไป โดยยกตัวอย่างว่า บุหรี่ปกติมีสารพิษกว่า 6,000 ชนิด แต่บุหรี่ไฟฟ้ามีแค่นิโคติน แต่การศึกษาพบว่า ในบุหรี่ไฟฟ้า จะมีปริมาณนิโคตินที่เข้มข้นสูงกว่าใบยาสูบทั่วไป และไม่สามารถควบคุมปริมาณนิโคตินได้"

ระดับนิโคตินเราก็มีให้เลือกมากมายไปจน0mg แล้วบอกควบคุมไม่ได้ แล้วบุหรี่จิงมันควบคุมได้? งงกับคนพวกนี้ เห็นกงจักรเป็นดอกบัวแท้ๆ


หัวข้อ: Re: บุหรี่ไฟฟ้าอันตราย? แล้วบุหรี่จิงไม่อันตรายกว่า?
เริ่มหัวข้อโดย: adapter ที่ เมษายน 30, 2014, 07:43:20 PM
    คนที่หันมาใช้บุหรี่ไฟฟ้าเพราะเริ่มต้นมาจากการติดบุหรี่จริง ทำไมนักวิชาการหรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหลาย
ไม่ช่วยกันหาวิธีการไม่ให้เกิดนักสูบหน้าใหม่ที่เริ่มต้นจากบุหรี่จริงซึ่งจะแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ ดีกว่ามาโจมตีบุหรี่
ไฟฟ้านะครับ อีกอย่างผมไม่คิดว่าจะมีคนที่ใช้บุหรี่ไฟฟ้าโดยไม่เคยติดบุหรี่จริงมาก่อน เอ๊ะ..หรือว่ามีหว่า
พวกนั้นถึงได้แอนตี้บุหรี่ไฟฟ้า ถ้ามีท่านได้เริ่มต้นที่บุหรี่ไฟฟ้าโดยไม่เคยสูบบุหรี่จริงแสดงตัวหน่อยครับ...


หัวข้อ: Re: บุหรี่ไฟฟ้าอันตราย? แล้วบุหรี่จิงไม่อันตรายกว่า?
เริ่มหัวข้อโดย: #King e-Cig Worldsss ที่ พฤษภาคม 01, 2014, 04:24:04 PM
(http://img.tarad.com/shop/e/ecigarette/img-lib/con_2010012910441.jpg)
E-Cigarette Interview with Dr Murray Laugesen
26th May 2009

นับว่าเป็นโชคดีของเราที่ได้มีโอกาสพูดคุยกับชายคนหนึ่ง (ที่ไม่ได้อยู่ในห้องทดลองของบริษัทผู้ผลิตบุหรี่อิเล็กทรอนิกส์) ซึ่งเป็นผู้ที่น่าจะรู้มากที่สุดเกี่ยวกับบุหรี่อิเล็กทรอนิกส์ ดร. Murray Laugesen เป็นนักวิจัยที่ได้รับการยกย่องของ Health New Zealand เป็นหนึ่งในไม่กี่แห่งที่ทำการวิเคราะห์เชิงลึกเกี่ยวกับบุหรี่อิเล็กทรอนิกส์และได้นำเสนอผลการศึกษาในที่ประชุมนานาชาติ ในการสัมภาษณ์ครั้งนี้ พวกเราได้พูดคุยกับเขาเกี่ยวกับข้อกังวลของบุหรี่อิเล็กทรอนิกส์

การใช้บทสัมภาษณ์นี้ – ใครก็สามารถใช้บทสัมภาษณ์นี้ได้และขอให้แจ้งแหล่งข้อมูลและส่งลิงค์กลับมายังไซต์นี้ด้วย

ECD (E-Cigarette Direct): ในการสัมภาษณ์ของเราก่อนหน้านี้ นักวิทยาศาสตร์ได้ประเมินว่า (จากหลักฐานที่มีอยู่) ความเสี่ยงจากบุหรี่อิเล็กทรอนิกส์ที่มีต่อสุขภาพอยู่ที่ระหว่าง 1% และ 1/10 ของ 1% ของบุหรี่ทั่วไป คุณได้ทดสอบผลิตภัณฑ์บุหรี่อิเล็กทรอนิกส์ Ruyan แล้ว คุณประเมินความเสี่ยงของผลิตภัณฑ์นี้อย่างไร?

ML: เราจัดอันดับบุหรี่อิเล็กทรอนิกส์ของ Ruyan ว่ามีความปลอดภัยมากกว่าบุหรี่ยาสูบ 2-3 ลำดับ (ปลอดภัยกว่า 100 ถึง 1000 เท่า) เรากล่าวเช่นนี้เพราะ การทดสอบสารพิษหลักๆ เกือบ 60 ชนิดของบุหรี่อิเล็กทรอนิกส์ Ruyan ไม่พบสารพิษเหมือนบุหรี่ทั่วไป มันไม่น่าประหลาดใจ เนื่องจากอุณหภูมิขณะทำงานของอะตอมไมเซอร์ของบุหรี่อิเล็กทรอนิกส์อยู่ที่ 5 – 10% ของการเผาไหม้บุหรี่ยาสูบ ดังนั้น สารพิษจากควันบุหรี่จึงไม่ถูกสร้างขึ้นมา

ถ้าผู้ผลิตบุหรี่อิเล็กทรอนิกส์แต่ละแห่งมีการรับรองด้านการผลิตที่ดี รวมถึงตัวโรงงาน และใช้ส่วนผสมที่บริสุทธิ์ ผลผลิตของพวกเขาก็ควรที่จะไม่มีอันตรายด้วย ปัญหาก็คือผู้ผลิตส่วนใหญ่ไม่ปฏิบัติตามในเรื่องดังกล่าว Ruyan ยอมรับความเสี่ยงในการทดสอบผลิตภัณฑ์ของเขาอย่างเปิดเผย และผลที่ออกมาคือมันบริสุทธ์อย่างมาก

ECD: ในครั้งแรกที่เราขอสัมภาษณ์คุณเมื่อหลายเดือนที่แล้ว คุณแนะให้พวกเรารอ เนื่องจากคุณอาจจะมีข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์มากกว่านี้ และตั้งแต่นั้นมา มีการศึกษาวิจัยมากขึ้นในประเทศนิวซีแลนด์ อะไรคือพัฒนาการล่าสุดบ้าง?

ML: นักวิจัยนิซีแลนด์เสนอผลงานการวิจัยในการประชุมที่ดับบลินของ International Society for Research on Nicotine and Tobacco ในตอนปลายเดือนเมษายน 2009 ว่า บุหรี่อิเล็กทรอนิกส์ Ruyan นั้นปราศจากสารพิษจากควันบุหรี่ และสามารถเพิ่มนิโคตินในเลือดของผู้สูบและลดความอยากบุหรี่ได้

EDC: กลุ่มสาธารณสุขในอเมริกาส่วนใหญ่ระบุว่า อุปกรณ์เหล่านี้ไม่ควรใช้จนกว่าจะผ่านการทดสอบอย่างครอบคลุมก่อน คุณเห็นด้วยกับท่าทีดังกล่าวหรือไม่?

ML: เราจะเห็นด้วย ถ้ามันเป็นยาแบบที่ต้องมีใบสั่งแพทย์ (prescription drugs) แต่นิโคตินเป็นหนึ่งในยาที่ปลอดภัยที่สุด และขายเพื่อเป็นทางเลือกในการทดแทนผลิตภัณฑ์ที่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภคมากที่สุด นั่นก็คือบุหรี่ยาสูบ ความเสี่ยงที่ต่ำเมื่อเทียบกับบุหรี่ เป็นความเสี่ยงเดียวที่ผู้สูบต้องเผชิญ ความเสี่ยงที่ผู้จัดจำหน่ายจะเจอคือการถูกฟ้องร้องเนื่องจากตัวผลิตภัณฑ์มีปัญหา (ซึ่งสามารถทำประกันความเสี่ยงได้และไม่เป็นเรื่องใหญ่โตสำหรับผู้ขายบุหรี่อิเล็กทรอนิกส์)

ในอเมริกา “การทดสอบอย่างเข้มข้น” เพื่อพิสูจน์ความปลอดภัยอย่างแท้จริง (near zero absolute safety) หมายถึงการทดสอบตามแบบฉบับของ FDA ซึ่งในการทดสอบนี้ที่อเมริกาสูงหลายล้านดอลล่าร์และใช้เวลานานหลายปีและทำให้ค่าใช้จ่ายทางการแพทย์เพิ่มขึ้น ภายใต้เงื่อนไขที่เกือบจะเป็นแบบผูกขาด (monopoly) มันต้องมีการทดสอบแบบง่ายๆ หรือแบบเฉพาะที่กำหนดไว้ ไม่ต้องมีการจดทะเบียนยา หรือเหมือนกับในประเทศอังกฤษที่อุปกรณ์และรีฟีลถูกขายโดยจัดอยู่ในประเภทที่ไม่ใช่ยา (non-medicines) 

ดังนั้น ความหวังของผมคือ FDA และผู้ออกระเบียบรายอื่นๆ จะทบทวนท่าทีเกี่ยวกับบุหรี่อิเล็กทรอนิกส์ โดยมุ่งหวังที่จะช่วยชีวิตผู้สูบส่วนใหญ่อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด สร้างความสมดุลย์กับกฎเกณฑ์ทางสาธารณสุขกับสิ่งที่เขาต้องการปกป้องความปลอดภัยของผู้บริโภค และอาจจะออกกฎหมายใหม่ที่ทันสมัยต่อการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วของผลิตภัณฑ์นิโคติน

ผลิตภัณฑ์นี้มีความปลอดภัย มีประสิทธิภาพ และเป็นไปได้ที่จะส่งผลต่อการหยุดสูบบุหรี่ บุหรี่อิเล็กทรอนิกส์เริ่มขายในอังกฤษตั้งแต่ปี 2007 (โดยจัดอยู่ในกลุ่มที่ไม่ใช่ยา หรือ non-medicines) และขายในอเมริกามากกว่าหนึ่งปีมาแล้ว โดยปราศจากรายงานอันตรายใดๆ ในสื่อหรือวารสารทางการแพทย์ในอเมริกา หรือรายงานจากหมอถึงผลร้ายที่ตามมา มันเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีความเป็นไปได้ที่จะช่วยเหลือผู้สูบที่จะเลิกบุหรี่ ดังนั้น ช่วยลดอัตราการตาย 1 ใน 2 ของผู้สูบบุหรี่ การศึกษาวิจัยเพิ่มเติมจึงมีความจำเป็นต้องมีต่อไป

จนถึงขณะนี้ การตอบสนองจากทุกๆ หน่วยงานของรัฐบาลคือ นิโคตินในบุหรี่อิเล็กทรอนิกส์ได้รับการจัดกลุ่มว่าเป็นยา (medicines) ซึ่งจำเป็นต้องเสียค่าใช้จ่ายหลายล้านดอลล่าร์และมีความล่าช้าเป็นปีๆ และทำรายงานหลายหน้าเพื่อให้เป็นไปตามกระบวนการตามกฎระเบียบที่จะนำผลิตภัณฑ์นี้เข้าสู่ในตลาด ค่าใช้จ่ายนี้จะเกิดซ้ำอีกครั้งเนื่องจากผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ แต่ละอันต้องจดสิทธิบัตรและถูกทดสอบเพื่อได้รับการอนุมัติ เรื่องสิทธิบัตรยังเป็นเรื่องที่ถกเถียงกันอยู่ ส่วนสิทธิบัตรเพิ่มเติมอื่นๆ และการพัฒนาในเรื่องการออกแบบยังอยู่ในกระบวนการดำเนินงานอยู่

ยังมีความโต้แย้งระหว่างความปลอดภัยสูงสุดของสิ่งที่มาทดแทนบุหรี่ (ความจริงก็คือ ไม่มียาใดที่ปลอดภัย 100%) และความปลอดภัยของบุหรี่อิเล็กทรอนิกส์เมื่อเปรียบเทียบกับการสูบยาสูบ ผู้ออกระเบียบยึดกฎเรื่องสิ่งที่ดีสำหรับประชาชน และนี่เองที่ขัดแย้งกับสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนที่จะสามารถซื้อผลิตภัณฑ์ใดก็ตามที่เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีความปลอดภัยที่จะช่วยลดความเสี่ยงที่จะเสียชีวิตเร็วขึ้นจากการใช้ยาสูบอย่างต่อเนื่อง

หน่วยงานรัฐบาลที่ควบคุมเรื่องยาสูบสามารถเข้ามาช่วยเหลือโดยนั่งคุยกับผู้ออกระเบียบเรื่องยา เพื่อสร้างความสมดุลย์ในการพิจารณานี้ และออกกฎหมายที่ผ่อนคลายเพื่อความปลอดภัยสำหรับผลิตภัณฑ์นิโคตินที่ออกฤทธ์เร็ว ตามที่ถูกเสนอโดยกลุ่มยาสูบของ Royal College of Physicians London เมื่อเร็วๆ นี้

กลุ่มการควบคุมยาสูบ (tobacco control community) สามารถเข้ามาช่วยเหลือโดยทำงานร่วมกับหน่วยงานรัฐบาลด้านสาธารณสุขและด้านการค้นคว้าวิจัย เพื่อเร่งการวิจัยและการพัฒนาของผลิตภัณฑ์นี้ให้เป็นผลิตภัณฑ์ทดแทนรุ่นใหม่รุ่นแรกที่มาแทนที่การสูบยาสูบ แต่สิ่งหนึ่งที่ชัดเจนคือ ผู้สูบจำเป็นต้องมีผลิตภัณฑ์ที่ดีกว่าเพื่อตอบสนองความต้องการนิโคตินที่ปลอดภัย และยิ่งสามารถหว่านล้อมตลาดได้เร็วเมื่อไหร่ก็จะยิ่งดีขึ้นเท่านั้น

EDC: ท่ามกลางกลุ่มต่างๆ WHO ได้แสดงความกังวลเกี่ยวกับเรื่องการส่งนิโคตินเข้าไปในปอดด้วยอุปกรณ์นี้ อยากทราบว่าคุณกังวลเกี่ยวกับเรื่องนี้ด้วยหรือไม่?

ML: อันดับแรก ตอนนี้เรารู้ว่าปริมาณนิโคตินหนึ่งพัฟ (per puff) นั้นต่ำและเพื่อให้ผู้สูบหายอยากเหมือนได้สูบบุหรี่จริงๆ จำเป็นต้องสูบหลายพัฟ อันดับสอง เราพบว่านิโคตินในบุหรี่อิเล็กทรอนิกส์ดูเหมือนว่าจะถูกดูดซึมที่ทางเดินอากาศส่วนบนของร่างกาย (upper airways) มากกว่าในปอด ดังนั้นมันจึงไม่ถูกส่งไปถึงสมองอย่างรวดเร็ว เหมือนกับกรณีของบุหรี่ยาสูบ

เมื่อเปรียบเทียบกับบุหรี่ยาสูบ ปริมาณนิโคตินที่ต่ำกว่าต่อหนึ่งพัฟในบุหรี่อิเล็กทรอนิกส์ และการส่งไปยังสมองที่ช้ากว่าหมายถึงความเสี่ยงที่จะติดนั้นค่อนข้างต่ำ ทั้งผู้จัดจำหน่ายบุหรี่อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งอยากที่จะผลักดันผลิตภัณฑ์และหน่วยงานด้านสาธารณสุขซึ่งปรารถนาที่จะปกป้องช่วยชีวิตคน จำเป็นต้องให้ความเอาใจใส่มากกว่านี้ในเรื่องการส่งผ่านนิโคติน (nicotine deliveries) เพราะการไม่มีนิโคตินที่เพียงพอ บุหรี่อิเล็กทรอนิกส์จะไม่เป็นที่พึงพอใจพอที่จะมาทดแทนบุหรี่

ECD: จากการใช้บุหรี่อิเล็กทรอนิกส์ เรารู้ส่วนผสม ผู้สูบสามารถคาดหวังว่าสุขภาพของเขาจะดีขึ้นได้อย่างไรบ้าง?

ML: ประโยชน์หลักๆ ของการใช้บุหรี่อิเล็กทรอนิกส์ที่มีต่อสุขภาพคือ เมื่อใช้แทนบุหรี่ยาสูบ ซึ่งลดความเสี่ยง 1 ใน 2 ของการตายก่อนเวลาอันควร (carry a one in two risk of early death) ผู้ที่เลิกสูบยาสูบไม่ว่าจะด้วยวิธีใดจะได้รับประโยชน์อย่างมากตราบใดที่เขาไม่กลับไปสูบแบบเดิม ผู้ใช้บุหรี่อิเล็กทรอนิกส์ควรเลิกสูบบุหรี่อย่างสิ้นเชิง หรือเลิกใช้นิโคตินโดยสิ้นเชิงเช่นกัน และหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ยาสูบแม้เพียงมวนเดียวในหนึ่งวัน เพราะแค่การสูบบุหรี่เพียงมวนเดียวต่อวัน ก็เป็นการเพิ่มความเสี่ยงอย่างใหญ่หลวงต่อโรคหัวใจล้มเหลว

Propylene glycol (เป็นส่วนผสมหลักในไอของบุหรี่อิเล็กทรอนิกส์) เป็นที่รู้ว่าเป็นตัวฆ่าเชื้อไวรัสและเชื้อแบคทีเรียในอากาศ (airborne flu virus and bacteria) และน่าจะช่วยป้องกันผู้คนจากเชื้อเมื่อหายใจเข้าไป ขณะที่ในทางกลับกัน การสูบยาสูบมีความเสี่ยงถึงชีวิตเป็นสองเท่าเมื่อป่วยเป็นโรคไข้หวัดใหญ่ (a flu epidemic) อย่างไรก็ตาม เรายังไม่มีข้อมูลว่า การที่สูด Propylene glycol เป็นพักๆ จากบุหรี่อิเล็กทรอนิกส์ จะช่วยป้องกันเชื้อแบคทีเรียและไวรัส

ECD: ในสภาวะการณ์ใดที่อาจจะไม่ช่วยให้ดีขึ้นหลังจากที่เปลี่ยนไปใช้บุหรี่อิเล็กทรอนิกส์?

ML: บุหรี่อิเล็กทรอนิกส์จะไม่ช่วยป้องกันโรคและความเสียหายที่เกิดจากการสูบยาสูบในอดีต แต่บุหรี่อิเล็กทรอนิกส์สามารถช่วยหยุดไม่ให้ผู้สูบแย่ลง จากการสูดควันยาสูบพิษ

ECD: ทั้งๆ ที่มีการศึกษาวิจัยของคุณในนิวซีแลนด์และมีกลุ่มผู้สนับสนุนมากมายในชุมชน Tobacco Harm Reduction บุหรี่อิเล็กทรอนิกส์กลับถูกห้ามในออสเตรเลียและในประเทศของคุณเอง (นิวซีแลนด์) นอกจากนั้น ดูเหมือนว่าจะมีการประกาศห้ามในแคนาดา และในอเมริกาก็กำลังจะทำให้มันเป็นสิ่งผิดกฎหมายภายใต้ข้อกำหนดที่ต้องทำการทดสอบด้วยวิธีการที่เป็นไปไม่ได้ การประกาศห้ามผลิตภัณฑ์ที่มีความปลอดภัยมากกว่าบุหรี่ จึงดูเหมือนเป็นเรื่องไม่สมเหตุผล อะไรคือเหตุผลของการต่อต้านบุหรี่อิเล็กทรอนิกส์?

ML: โดยส่วนตัวแล้วผู้ออกกฎข้อบังคับส่วนใหญ่ยอมรับว่ามันเป็นเรื่องไม่สมเหตุผล บุหรี่อิเล็กทรอนิกส์ถูกกักอยู่ในกับดักกับกฎข้อบังคับแบบ 2 กล่อง (two-box regulatory trap) ผลิตภัณฑ์นิโคตินภายใต้กฎหมายจัดว่าเป็นผลิตภัณฑ์ยาสูบหรือไม่ก็เป็น (เวชภัณฑ์) ทางเลือกหนึ่งในเพียง 2 ทางเลือกนั้นเป็นภาวะกลืนไม่เข้าคายไม่ออก (dilemma) สำหรับผู้ออกกฎข้อบังคับ

บุหรี่อิเล็กทรอนิกส์ในความพยายามที่จะเป็นแบบไร้ยาสูบ (tobacco-free) ไม่เหมาะที่จะอยู่ในกล่องแรกอีกต่อไป

ดังนั้น ผู้ออกกฎระเบียบจึงจัดให้บุหรี่อิเล็กทรอนิกส์อยู่ในกล่องที่ 2 ซึ่งเป็นกลุ่มยา

อย่างไรก็ตาม จากมุมมองของผู้สูบ บุหรี่อิเล็กทรอนิกส์ควรจัดอยู่ในกล่องที่ 3 ซึ่งเป็นทางเลือกของวิถีชีวิต (a lifestyle choice) หรือเป็นทางเลือกที่จะไม่สูบบุหรี่ มันยังเป็นเรื่องของอำนาจตลาด (market power) บริษัทยาสูบขนาดใหญ่ควบคุมกล่องใบที่ 1 บริษัทยาขนาดใหญ่และ the white coat health professional prescribers และ dispensers ควบคุมกล่องใบที่ 2 ในขณะที่ผู้สูบมากมายที่ติดนิโคติน (ผู้ซึ่ง) มีแนวโน้มที่จะนั่งรอความตายกลับไม่มีอำนาจ พวกเขาอยากจะซื้อจากกล่องที่ 3 แต่ในกล่องกลับไม่มีอะไรเลย

ECD: การศึกษาชิ้นหนึ่งในยุโรปชี้ให้เห็นว่า การทำให้ Snus เป็นสิ่งผิดกฎหมายก่อให้เกิดความสูญเสียถึงแก่ชีวิตของชาวยุโรปหลายพันคน ซึ่งมันเป็นเรื่องยากที่จะระบุจำนวน อยากทราบว่า ในความคิดของคุณ การห้ามใช้บุหรี่อิเล็กทรอนิกส์ ในอเมริกาจะก่อให้เกิดความสูญเสียชีวิตอย่างมากมายหรือไม่?

ML: การทำให้ Snus ผิดกฏหมายในยุโรปไม่ได้ก่อให้เกิดประโยชน์กับคนในยุโรป ดูได้จากความนิยมใน snus ของผู้ชายชาวสวีเดน ทำให้อัตราการสูบบุหรี่ของผู้ชายต่ำลง อัตราการการลดลงของผู้สูบบุหรี่เพศชายและอัตราผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดของชายชาวสวีเดนก็ต่ำลงด้วย บุหรี่อิเล็กทรอนิกส์เมื่อเปรียบเทียบกับ Snus แล้ว มีข้อได้เปรียบที่ดึงดูดทั้งผู้ชายและผู้หญิง การประกาศห้ามเกี่ยวกับบุหรี่อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศต่างๆ เช่น อเมริกา ทำลายความพยายามที่จะรู้ว่าบุหรี่อิเล็กทรอนิกส์จะสามารถแย่งส่วนแบ่งการตลาดจากบุหรี่ยาสูบได้หรือไม่ ผมคิดว่าการประกาศห้ามการขายบุหรี่อิเล็กทรอนิกส์จะทำให้ศักยภาพความเป็นไปได้ที่จะช่วยชีวิตคนถดถอยลง อย่างไรก็ตาม เราต้องการสถิติว่ามีการขายบุหรี่อิเล็กทรอนิกส์ไปจำนวนเท่าใดในอุตสาหกรรมนี้ และมีผู้ที่ใช้บุหรี่อิเล็กทรอนิกส์นี้มีกี่คนที่ยังคงสูบบุหรี่แบบเดิมอยู่

ที่มา: E-Cigarette Interview with Dr Murray Laugesen

เครดิตร "Wonder Girl"


หัวข้อ: Re: บุหรี่ไฟฟ้าอันตราย? แล้วบุหรี่จิงไม่อันตรายกว่า?
เริ่มหัวข้อโดย: Cloudian Shop Service ที่ พฤษภาคม 01, 2014, 05:31:04 PM
ชัดเจนค่ะ โจมตีกันเห็นๆ
ส่วนมากตามข่าวมักจะบอกว่า บุหรี่ไฟฟ้าอันตราย และผิดกฏหมาย
แล้วไม่เห็นมีข่าวไหนบอกมาสักข่าว ว่าบุหรี่จิงอันตรายไหม ทั้งๆที่เราก็รู้ๆกันอยู่ว่ามันมีสารพิษตั้ง4000-6000ชนิต แต่ถูกกฏหมาย เอาเข้าไปเมืองไทย
 :0006: :0006: :0006: :0006:


หัวข้อ: Re: บุหรี่ไฟฟ้าอันตราย? แล้วบุหรี่จิงไม่อันตรายกว่า?
เริ่มหัวข้อโดย: DrackPhoto ที่ พฤษภาคม 01, 2014, 07:10:57 PM
สำหรับสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย นอกจากอาหารเลี้ยงชีพแล้ว อะไรที่รับเข้าไป ก็ล้วนแต่มีพิษทั้งนั้น
แม้แต่อาหารที่กินเข้าไปมากเกินไป ก็อ้วน กินผิดเวลาก็สารพัดพิษ ยา เครื่องสำอางค์ต่างๆก็ด้วย

แน่ล่ะบุหรี่ไม่ได้ช่วยอะไรนอกไปจาก ความบันเทิงใจ หย่อนใจ

สำหรับผม ไม่ว่าไฟฟ้า รึ บุหรี่จริง ก็มีพิษทั้งนั้น

แต่สิ่งที่ผมสนใจมากกว่า คือหาอะไรหย่อนใจ ผ่อนคลาย จากสิ่งมัวเมาบ้าง เหล้ายาอย่างอื่นไม่แตะเลย

สิ่งที่ผมสนใจถัดมา คือ ประหยัด ถ้ารู้จักพอนะ (ไม่บ้าอุปกรณ์จนเกินเหตุ)

ถัดมาคือไม่ต้องกลัวไฟไหม้ถ้าดับไม่สนิท ไม่ต้องทิ้งขยะตามที่ต่างๆ

ถัดมาคือไม่มีกลิ่นตัวสาบๆ ให้ใครต้องแสดงความรังเกียจ กลิ่นปากไม่มาก(แต่ยังมีอยู่ถ้าไม่แปรงฟัน)

ผลพลอยได้เล็กๆน้อยๆ

1 เวลาทำงานในห้าง เช่น ฉายหนังรอบกาล่าที่พารากอน ไปต้องลงลิฟท์จากชั้น 5 มาชั้น 3 เพื่อสูบบุหรี่แล้วกลับขึ้นไปทำงานต่ออีก สูบหลังม่าน กองออแกไนซ์ได้เลย
2 เวลาออกกองต่างจังหวัดแล้วต้องทำเวลา ไม่ต้องจอดพักสูบบุหรี่เหยียบยาวๆได้เลย สูบกันบนรถตู้นั่นแหละ
3 ห้องพัก ห้องน้ำมีกลิ่นหอมโดยไม่ต้องใช้สเปรย์ปรับอากาศ ท้องเสียก็ช่วยกลบกลิ่นด้วย
และ อื่นๆอีกมากมาย

ข้อเสียของบุหรี่ไฟฟ้าที่ผมไม่ชอบมีข้อเดียว คือเวลาหนาวมันไม่ช่วยยกเว้นใช้สลิงคอยล์คู่ อัดแล้วกุมไว้ เยี่ยมมาก  :0017:

สิ่งเดียวที่ควรเชื่อ คือ "กฎแห่งกรรม"  :0019:



หัวข้อ: บุหรี่ไฟฟ้าอันตราย? แล้วบุหรี่จิงไม่อันตรายกว่า?
เริ่มหัวข้อโดย: kontham ที่ พฤษภาคม 05, 2014, 07:39:01 PM
ข่าวมีความน่าเชื่อถือน้อยลง เมื่อมีการอ้างผลการวิจัย ที่ไม่ระบุ ที่มา ให้เข้าถึงตรวจสอบได้
ตลอดจนถ้อยความที่ขัดแย้งความเป้นจริง คือ ไม่สามารถควบคุมนิโคตินได้

แถมถูกหลักล้างด้วย บทความสัมภาษณ์ด้านล่าง อีก


หัวข้อ: Re: บุหรี่ไฟฟ้าอันตราย? แล้วบุหรี่จิงไม่อันตรายกว่า?
เริ่มหัวข้อโดย: Cloudian Shop Service ที่ พฤษภาคม 05, 2014, 08:13:58 PM
ข่าวมีความน่าเชื่อถือน้อยลง เมื่อมีการอ้างผลการวิจัย ที่ไม่ระบุ ที่มา ให้เข้าถึงตรวจสอบได้
ตลอดจนถ้อยความที่ขัดแย้งความเป้นจริง คือ ไม่สามารถควบคุมนิโคตินได้

แถมถูกหลักล้างด้วย บทความสัมภาษณ์ด้านล่าง อีก

กระทืบไลค์ให้เลยค่ะ
 :0012: :0012: :0012: :0012: :0012:


หัวข้อ: บุหรี่ไฟฟ้าอันตราย? แล้วบุหรี่จิงไม่อันตรายกว่า?
เริ่มหัวข้อโดย: kapikohza ที่ พฤษภาคม 08, 2014, 10:09:13 PM
เห้อ ประเทศ ไทย  :0018:



หัวข้อ: Re: บุหรี่ไฟฟ้าอันตราย? แล้วบุหรี่จิงไม่อันตรายกว่า?
เริ่มหัวข้อโดย: bu_555 ที่ พฤษภาคม 09, 2014, 12:38:51 AM
ดี หรือ ไม่ดี..

ต้องไปถาม "คนติดบุหรี่ที่เลิกด้วยการใช้บุหรี่ไฟฟ้า"

ไม่ใช่ไปถาม นักวิชาการ ที่ไม่เคย สูบทั้งบุหรี่จริง และ บุหรี่ไฟฟ้า..


หัวข้อ: Re: บุหรี่ไฟฟ้าอันตราย? แล้วบุหรี่จิงไม่อันตรายกว่า?
เริ่มหัวข้อโดย: boy4ever ที่ พฤษภาคม 09, 2014, 09:31:38 AM

ใดใดในโลกล้วนอนิจจัง
คนไม่สูบบุหรี่ยังตายได้   :0014:

ชีวิตใคร  ใครก็ลิขิตกันเองครับ  เลือกสิ่งที่ดีกว่าสำหรับชีวิตตัวเองครับ  โตๆ กันแล้ว  :0017: :0017:
ฝากไว้ให้ลองพินิจพิจารณากันครับ  

ทุกคนรู้ดีอยู่แล้วว่า  บริษัทบุหรี่ระดับโลก ปีๆ นึงขายกันเท่าไหร่  ผมว่ามากกว่างบประมาณของประเทศซะอีก
ถ้าหาก E น้องซิก ที่เราใช้ๆ กันอยู่ มีอันตรายมากกว่าบุหรี่ร้อนๆ โดยมีผลวิจัยรองรับแบบพิสูจน์ได้
ไม่ต้องห่วงเลยครับ  ด้วยเม็ดเงินที่มีมหาศาล  ป่านนี้ข้อมูลถูกป่าวประกาศให้รับรู้กันทั่วไปแล้ว  
เพราะ E น้องซิก นี่คือ ตัวหารรายได้ของบริษัท โดยตรง  แต่นี่เงียบกริบ  
เพราะไม่ว่าจะเปรียบมวยกันด้านไหน ก็เป็นรองเยอะ :0014: :0014:

เพราะ E น้องซิก คือ แสงสว่างปลายอุโมงค์ของเราเหล่านักสูบไอน้ำครับ
เป็นกำลังใจให้เหล่านักสูบ  "ผู้ค้นฟ้า คว้าควัน"   มีความสุขกับทางเลือกของคุณครับ  :0021: :0021:
(ทำเสียงแบบพี่แฟรงค์ The Star จะได้อารมย์มากมาย)


หัวข้อ: Re: บุหรี่ไฟฟ้าอันตราย? แล้วบุหรี่จิงไม่อันตรายกว่า?
เริ่มหัวข้อโดย: nori ที่ พฤษภาคม 09, 2014, 08:33:27 PM
พอดีมีญาติทำงานอยู่โรงงานยาสูบค่ะก็เลยทำให้รู้ว่าปัจจุบันทางโรงงานยาสูบก็ยังมีการขยายกิจการอยู่อย่างต่อเนื่อง อยากถามว่าเพื่อรองรับอะไรหรอคะ????     :0031:  คิดจะควบคุมกันมั้ย ??????????


หัวข้อ: Re: บุหรี่ไฟฟ้าอันตราย? แล้วบุหรี่จิงไม่อันตรายกว่า?
เริ่มหัวข้อโดย: Lemon Tea ที่ พฤษภาคม 13, 2014, 11:47:13 PM

คนที่สูบ ๆ อย่างเรา เค้าเข้าใจกันดีครับ ว่ามันดีกว่าบุหรี่จริงอย่างไร

แต่คนรอบข้าง ที่เค้าไม่ได้สูบทั้งบุหรี่จริง และบุหรี่ไฟฟ้า เค้าเชื่อทีวีอย่างเต็มที่เลยครับ

ลูกค้าผมหลายคนก็บ่น ๆ มาว่า คนในครอบครัวให้เลิกสูบ

ก็ต้องอธิบายกันทีละเคส ๆ ละครับ
เฮ้อออ
 :0013:  :0013:


หัวข้อ: Re: บุหรี่ไฟฟ้าอันตราย? แล้วบุหรี่จิงไม่อันตรายกว่า?
เริ่มหัวข้อโดย: 6465 ที่ พฤษภาคม 14, 2014, 01:54:10 AM
ขอด่าไอ้นักวิชาการไทยทั้งหลายที่มาแถลงตามข้างบนว่า

ไอ้เหี้ย  อีเหี้ย  ขอให้มันตายด้วยโรคมะเร็งปอด


  คนที่เชื่อพวกนี้โดยไม่ศึกษาว่ามันคืออะไร ก้อควายนี้เอง  ไม่มีสมองไว้คิด

  




หรือจะมาลดความโง่กับเรื่องบุหรี่ไฟฟ้าก้อได้ จะบอกให้ฟัง




หัวข้อ: Re: บุหรี่ไฟฟ้าอันตราย? แล้วบุหรี่จิงไม่อันตรายกว่า?
เริ่มหัวข้อโดย: ZO ที่ พฤษภาคม 14, 2014, 02:06:55 PM


ใจเย็นครับท่าน  :0006: ผมเข้าใจครับ ยังไงของเราก็ดีกว่าอยู่แล้ว พวกเรารู้กันดีครับ  :0009:


หัวข้อ: Re: บุหรี่ไฟฟ้าอันตราย? แล้วบุหรี่จิงไม่อันตรายกว่า?
เริ่มหัวข้อโดย: Tigger9899 ที่ มิถุนายน 02, 2014, 01:38:09 PM
 :0007:  :0007:  :0007:


หัวข้อ: บุหรี่ไฟฟ้าอันตราย? แล้วบุหรี่จิงไม่อันตรายกว่า?
เริ่มหัวข้อโดย: labutus ที่ มิถุนายน 05, 2014, 10:53:28 PM
อยากจะแดกภาษีหนักๆซินะถึงได้ออกมาดิ้น


หัวข้อ: Re: บุหรี่ไฟฟ้าอันตราย? แล้วบุหรี่จิงไม่อันตรายกว่า?
เริ่มหัวข้อโดย: yasha94 ที่ กุมภาพันธ์ 06, 2015, 04:23:36 PM
 :0018: :0018: :0004: :0004: :0004:


หัวข้อ: Re: บุหรี่ไฟฟ้าอันตราย? แล้วบุหรี่จิงไม่อันตรายกว่า?
เริ่มหัวข้อโดย: adnan ที่ กุมภาพันธ์ 25, 2015, 11:02:02 AM
 :0017: :0017: :0017:
เอาน่า
ตามๆกันไป