ขายบุหรี่ไฟฟ้าราคาถูก.com : 6 วิธีเพื่อเลือกซื้อรถมือสองให้ได้รถดี
เท่าที่คุยกับเพื่อนและคนรู้จักที่ทำธุรกิจรถมือสองรู้สึกว่าตอนนี้ตลาดค่อนข้างจะซบเซา เริ่มแรกตลาดรถเก๋งในกรุงเทพฯ ดูท่าทางจะเงียบๆ ก่อน เพราะโดนกระแสรถอีโคคาร์และนโยบายรถคันแรกตีตลาด
แม้ว่าจะผ่านช่วงที่มีการคืนภาษีไปแล้วแต่สถานการณ์ก็ใช่ว่าจะดีขึ้น เพราะทางด้านผู้ผลิตรถยนต์ก็ได้รับผลจากนโยบายการคืนภาษีรถคันแรกเหมือนกัน ทำให้การบริหารสต็อกคลาดเคลื่อนจนแต่ละค่ายต่างก็ต้องอัดแคมเปญแข่งกันอย่างดุเดือดเพื่อระบายรถ ทั้งส่วนลดราคา ดาวน์น้อยผ่อนนาน ทั้งแถมประกันภัยชั้น1 ยิ่งทำให้ตลาดรถมือสองยิ่งเงียบขึ้นอีก และดูจะขยายวงกว้างไปถึงต่างจังหวัดด้วย
ถึงแม้ว่าตลาดรถมือสองอาจดูเหมือนว่าซบเซา แต่อย่างไรเสียรถมือสองก็เป็นสิ่งที่อยู่คู่กับวงการรถยนต์เมืองไทยมาช้านาน ยังไงก็ยังต้องมีการซื้อขายกันอยู่ รถเก๋งเล็กอาจจะดูเงียบๆ แต่รถเก๋งขนาดกลางไปจนถึงขนาดใหญ่ หรือรถประเภทอื่นๆ ก็ยังมีความต้องการกันอยู่ เพราะด้วยคุณสมบัติของรถที่ตอบโจทย์ ครั้นจะซื้อรถใหม่ก็ราคาสูงเกินไป
เอาเป็นว่าถ้าคุณกำลังสนใจรถมือสอง ผมมี 6 แนวทางในการเลือกและดูรถเพื่อให้ได้รถที่มีคุณภาพมาแนะนำ
1. อายุรถ – ถ้าเป็นรถปีใหม่ๆก็อาจจะตรวจดูได้ง่ายหน่อย เพราะน่าจะผ่านการขับขี่มาน้อย เกิดอุบัติเหตุน้อยและเครื่องยนต์ก็น่าจะยังไม่ทรุดโทรมไปมากนัก แต่ก็ไม่ได้หมายความว่ารถปีใหม่ๆ จะดีเสมอไป การดูรถมือสองมีจุดที่ต้องสังเกตุหลักๆ แล้วไม่กี่จุด แต่การที่จะบอกได้ว่าดีหรือไม่ดีนั้น ถ้าจะดูให้ขาดก็ต้องอาศัยประสบการณ์ ถ้าหากคุณไม่มีประสบการณ์็ต้องทำการบ้านเยอะๆ หน่อย
2. สภาพตัวถังโดยรวม – เครื่องยนต์หลวมยังซ่อมหรือเปลี่ยนเครื่องได้ ช่วงล่างหลวมก็ซ่อมได้ ตัวถังไม่สวย ก็ซ่อมได้ แต่จะซ่อมให้สวยปิ๊งเหมือนเดิมนั้นยาก ลำดับแรกต้องมองให้ขาดว่าตัวถังของรถคันที่คุณสนใจอยู่ในสภาพที่ดี ความสวยสมบูรณ์ของตัวถังไม่ได้หมายถึงสีสวย แต่หมายถึง ทรงของรถต้องยังดีอยู่ การดูก็ดูรวมๆ มองภาพกว้างๆ เดินดูรอบๆ ว่าเหลี่ยมสันของรถคันนั้นในมุมต่างๆ ยังสวยกริ๊บอยู่ไหม ช่องไฟต่างๆ ช่องไฟคือ ระยะห่างระหว่างชิ้นส่วนตัวถังแต่ละจุด เช่น ระยะระหว่างบังโคลนหน้าซ้ายกับบานประตูหน้าซ้าย บานประตูหน้าซ้ายกับบานประตูหลังซ้ายมีระยะห่างเท่ากันไหม และระยะห่างนั้นอยู่ในลักษณะที่เป็นแนวตรงดีหรือไม่ ถ้ามีการเฉี่ยวชนมา หากซ่อมตัวถังไม่ดี จุดเหล่านี้ระยะจะมีการผิดเพี้ยนหรือเสียศูนย์ไป
3. ดูตามซอกหรือตะเข็บ – ถ้าจะให้ดีต้องสังเกตตะเข็บของตัวถังและรอยอาร์คหรือจุดที่มีการเชื่อมตัวถังว่าเป็นรอยเดิมที่มาจากโรงงานหรือไม่ แต่ถ้าไม่มีความรู้เรื่องรถอาจจะต้องศึกษาและทำความเข้าใจเพิ่มเติมสักหน่อย ผมแนะนำว่าเราอาจไปสำรวจรถรุ่นที่เราสนใจในโชว์รูมซึ่งเป็นรถใหม่ แล้วเก็บรายละเอียดซอก ตะเข็บต่างๆ เท่าที่สำคัญ เพื่อมาเปรียบเทียบกันว่า รถมือสองคันนี้ มีอะไรแตกต่างจากรถมือหนึ่งมากน้อยเพียงใด
4. ตรวจสอบรายละเอียดของรุ่นและปีของรถ – รถหลายๆ รุ่นมีรุ่นย่อยหลายรุ่นและยังมีการเปลี่ยนโฉมหรือไมเนอร์เชนจ์อีก เพื่อให้ชัวร์ว่ารถคันที่จะซื้อนั้นเป็นรุ่นและปีอะไรกันแน่ ก็คงต้องดูจุดสังเกตุเพิ่มเติม ซึ่งรถแต่ละยี่ห้อ แต่ละรุ่นก็มีจุดสังเกตไม่เหมือนกัน เช่น บางรุ่นสังเกตได้จากแผ่นเพลตในห้องเครื่องยนต์ บางรุ่นสังเกตจากป้ายหรือเพลตที่หม้อน้ำ บางรุ่นสังเกตจากโคมไฟหน้าหรือไฟท้าย บางรุ่นสังเกตจากป้ายที่เข็มขัดนิรภัย ฯลฯ เราควรตรวจสอบให้แน่ชัดว่ารุ่นที่ผู้ขายระบุมา ตรงกับรถมือสองคันที่เราตรวจสอบอยู่ และรถแต่ละรุ่นนั้นมีทุนประกันภัยไม่เท่ากัน จึงอาจส่งผลต่อราคาซื้อประกันภัยรถยนต์มือสองได้
5. ตรวจสอบระบบต่างๆ ที่ติดตั้งเพิ่มเติม – เช่น ถ้ามีการเปลี่ยนเครื่องเสียงใหม่ ที่ไม่ใช่เครื่องเสียงเดิมติดรถ ดูสักหน่อยว่ามีการติดตั้งอะไรเยอะแยะมากมายหรือเปล่า ตลอดจนระบบกันขโมยและอื่นๆ หากมีการติดตั้งอะไรเยอะๆ หากติดตั้งไม่ดี ซึ่งหมายถึงการตัดต่อหรือเดินสายไฟไม่ดี แทนที่จะรู้สึกเหมือนได้ของดีมาแต่อาจส่งผลต่อระบบไฟฟ้าในรถยนต์ได้
6. รถเดิมๆ (น่าจะ) ดีที่สุด – หากต้องการรถที่มีการตกแต่งมาบ้างควรเป็นการตกแต่งที่อยู่บนพื้นฐานที่ไม่ได้ดัดแปลงสภาพจากรถเดิม เช่น การเปลี่ยนล้อและยาง ก็ควรเป็นการเปลี่ยนขนาดธรรมดาๆ เท่านั้น ไม่ถึงกับมีการปรับเซ็ตระบบช่วงล่างให้ผิดเพี้ยนไปจากเดิม เป็นต้น หากจะแต่งอะไร นำมาตกแต่างด้วยตัวเราเองดีกว่า ในเบื้องต้นควรได้รถที่อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ที่สุดแบบเดิมจะดีที่สุด
การบอกถึงแนวทางเป็นเรื่องง่าย แต่การดูรถจริงๆ นั้นยาก อย่างไรเสียก่อนที่จะซื้อควรตดัสินใจก่อนว่าจะซื้อรถรุ่นไหน แล้วหาข้อมูลเฉพาะเจาะจงรถรุ่นนั้นๆ ให้มากๆ เมื่อซื้อรถแล้วอย่าลืมตรวจสอบและทำประกันภัยให้เรียบร้อยโดยบางแห่งนั้นเปิดกว้างในการรับอายุรถถึง 10 ปี ก็สามารถซื้อประกันภัยชั้น 1 ไว้คุ้มครองได้ แต่หากรถมือสองที่มีอายุมากกว่า 10 ปีการซื้อประกันภัยประเภท 2+ หรือ 3+ ดูจะเป็นทางเลือกที่คุ้มค่ากว่า และสุดท้ายหากรถมือสองมีอายุมากกว่า 15 ปีผมแนะนำว่าซื้อประกันภัยประเภท 3 จะเหมาะสมที่สุดด้วยราคาเพียงพันนิดๆเท่านั้นเอง